CVD Risk Score
CVD (Cardiovascular Disease) Risk Score นี้ถูกดัดแปลงมาจาก Coronary Risk Chart ซึ่ง European Society of Cardiology, European Atherosclerosis Society,
European Society of Hypertension, International Society of Behavioural Medicine, European Society of General
Practice/Family Medicine, European Heart Network, และ European Heart Society ได้นำเสนอ ตั้งแต่ปีคศ1998
หลังจากนำมาปรับใช้ ได้ทำการทดสอบและพบว่าใช้ทำนายอุบัติการของการเกิดheart attack, stroke และการเสียชีวิต ในการศึกษาข้าราชการทหารอากาศไทย
ระยะยาวสิบปีได้ค่อนข้างดีกว่าเครื่องมืออื่นๆ ซึ่งได้รายงานผลการศึกษาไว้ในวารสารการแพทย์ Asian Heart Journal 2012; 120:1-11
และ Bangkok Med J 2017;13:1-12
การประเมินความเสี่ยงของ CVD Risk Score กระทำได้โดยกรอกข้อมูลที่สำคัญคือ เพศ อายุ ความดันเลือดตัวบน ระดับน้ำตาลในเลือด
ไขมันในเลือด ประวัติการสูบบุหรี่ ประวัติครอบครัวคือมีสมาชิกเป็นหรือเสียชีวิตกระทันหันจากโรคหัวใจ มีโรคผนังหลอดเลือดแดงเสื่อม ก่อนวัย 55 ปีในชาย
และ 65 ปีในหญิง หรือมีประวัติไขมันสูงในหลอดเลือดครอบครัว แล้ว คลิกที่ การประเมินความเสี่ยง จะได้ผลความเสี่ยงในการเกิด CVD ในสิบปีข้างหน้า
เป็นสามกลุ่มคือ ต่ำ กลาง หรือ สูง
จากผลการวิจัย ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ (low risk group: calculated 10-year risk < 10%), โอกาสจะเกิด
heart attack (1.1%), stroke(1.1%) หรือการเสียชีวิต non-cardiovascular death (3.4%) ในช่วงเวลาสิบปี โดยรวมนั้นไม่สูง คือ
ร้อยละ 5.7 เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลา เช่นอายุที่เพิ่มขึ้น การประเมินซ้ำจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำทุกปี หรือ
อย่างน้อยทุกสามปี
สำหรับผู้ที่มี ความเสี่ยงปานกลาง (intermediate risk group: 10-year risk 10-20%), ซึ่งได้รับการรักษาเช่นกัน ก็ยังเกิด heart attack,
stroke, death สูงกว่ากลุ่มความเสี่ยงต่ำเกินสองเท่า คือเป็นร้อยละ 13.2 แม้จะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ดังนั้นการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทุกชนิดจึงยังควรกระทำอย่างเข้มงวดเช่นกัน ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
สำหรับ กลุ่มความเสี่ยงสูง ( high risk group: calculated 10-year risk > 20%), แม้ว่าจะได้รับการรักษา จากงานวิจัย พบว่าอุบัติการรวมของ
heart attack (3.8%), stroke (1.5%) หรือ non-cardiovascular death (11.3%)ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเกือบสามเท่าของกลุ่มความเสี่ยงต่ำ
คือเพิ่มเป็นร้อยละ 14.6 (p=0.026) ดังนั้นการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทุกชนิดจึงควรกระทำ และควรตรวจเพิ่มเพื่อประเมินความรุนแรงของโรค ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
นอกจากนี้กลุ่มความเสี่ยงปานกลางและสูงยังได้รับการตรวจสมรรถภาพหัวใจเพิ่ม โดยการเดินสายพาน และพบว่าร้อยละ 2.4% มีผลที่ผิดปกติ
โดยครึ่งหนึ่ง (1.2%) ของกลุ่มนี้มีหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการใส่ขดลวดถ่างขยาย หรือการทำผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจ
และที่เหลือ (slow flow, vasospasm, myocardial bridging) สามารถรักษาด้วยยา และปรับเปลียนพฤติกรรม